กิจกรรมที่ 2 กินกบตัวนั้นซะ

     เรื่อง “กินกบตัวนั้นซะ ทำสิ่งที่สำคัญก่อน วันนี้เลย” Eat That Frog



          หนังสือเรื่อง "กินกบตัวนั้นซะ" มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้เวลาอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด เพราะ คนเราไม่มีเวลา พอที่จะทำทุกอย่างได้ในเวลาเดียวกัน จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ วิธีการบริหารเวลา จากคนที่ ประสบความสำเร็จ เขาจะไม่พยายามทำทุกสิ่ง แต่จะมุ่งความสนใจ ไปยังงานที่สำคัญที่สุดก่อน และทำมันเป็นอันดับแรก
          "กินกบตัวนั้นซะ" เป็นการอุปมาให้เห็นภาพว่าหากสิ่งแรกที่คุณจะทำในแต่ละเช้า คือ การกินกบเป็นๆ ตัวหนึ่งซึ่งมันคงเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดของวันนั้นแล้ว แต่ถ้าคุณรีบกินมันเสีย อย่างน้อยคุณจะได้ ภาคภูมิใจว่า คุณจะสามารถผ่านพ้นวันนั้นไปได้ด้วยดี เพราะคงไม่มีอะไรเลวร้ายมากไปกว่านี้อีกแล้ว เปรียบเหมือนกับ การรีบจัดการงานที่ท้าทายที่สุด ในแต่ละวันของคุณ ที่คุณเห็นว่า มันยากและพยายาม ผัดวันประกันพรุ่งไปทำวันอื่น โดยลืมนึกไปว่า บางทีสิ่งนั้นอาจมีผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อชีวิตของคุณeat that frogสิ่งสำคัญที่หนังสือเล่มนี้ ย้ำอยู่เสมอไม่ใช่ให้ยึดเพียงหลักการ แต่เป็นการลงมือปฏิบัติจริงอย่างเคร่งครัด เพื่อจัดระเบียบ และหาวิธีที่จะลงเอยกับงานที่สำคัญยิ่งเหล่านี้ เพื่อให้ไม่เพียงทำงานได้เร็วขึ้น แต่ได้ทำงานที่ใช่เลยอีกด้วยต่อไปนี้คือบทสรุปของวิธีที่ยิ่งใหญ่ 21 วิธี ในการเลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง ซึ่งคุณจำเป็นต้องทบทวนหลักการนี้เป็นประจำ จนกว่ามันจะฝังลึกในความคิด และการกระทำของคุณ
          1. จัดโต๊ะ (Set The Table) ตัดสินใจให้แน่นอนว่าคุณต้องการอะไร ความชัดเจนเป็นเรื่องสำคัญ เขียนเป้าหมายและจุดประสงค์ของคุณขึ้นมาก่อนที่คุณจะเริ่มลงมือ
          2. วางแผนทุกวันไว้ล่วงหน้า (Plan Every Day In Advance) คิดบนกระดาษทุกนาทีที่คุณใช้ในการวางแผนงานสามารถประหยัดเวลาในการปฏิบัติงานของคุณได้ 5-10 นาที
          3. ใช้กฎ 80/20 กับทุกอย่าง (Apply the 80/20 Rule to Everything) 20% ของงานที่คุณทำคือตัวที่จะรับผิดชอบผลลัพธ์อีก 80% ของคุณ จงตั้งสมาธิอยู่กับบ้าน 20% แรกนั้น
          4. พิจารณาถึงผลที่จะตามมา (Consider the Consequences) งานที่สำคัญที่สุดของคุณและการจัดลำดับความสำคัญคือสิ่งที่สร้างผลลัพธ์ที่รุนแรงที่สุดทั้งในแง่บวกหรือแง่ลบกับชีวิตและการงานของคุณ จงเพ่งเล็งสิ่งเหล่านี้ให้มากกว่าอะไรทั้งหมด
          5. ฝึกวิธี ABCDE อย่างต่อเนื่อง (Practice the ABCDE Method Continually)  ก่อนเริ่มลงมือทำงานตามรายการ จงใช้เวลาครู่หนึ่งในการเรียบเรียงมันตามคุณค่าและลำดับความสำคัญเพื่อที่คุณจะมั่นใจได้ว่าคุณกำลังทำงานที่สำคัญที่สุดของคุณ
          6. เน้นที่หัวใจของงาน (Focus on Key Result Area) ชี้ชัดและกำหนดหัวใจสำคัญเหล่านั้นที่คุณต้องมีเพื่อให้ทำงานได้ดี และพยายามทำมันตลอดทั้งวัน
          7. เชื่อฟังกฎแห่งประสิทธิภาพโดยความจำเป็น (Obey the Law of Forced Efficiency) คุณไม่มีเวลาพอที่จะทำทุกอย่าง แต่มีเวลาเสมอที่จะทำสิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งนั้นคืออะไร?
          8. เตรียมพร้อมอย่างรอบคอบก่อนเริ่มลงมือ (Prepare Thoroughly Before You Begin) การเตรียมการล่วงหน้าที่เหมาะสมเป็นการป้องการปฏิบัติงานที่ไม่ได้เรื่อง
          9. ทำการบ้านของคุณ (Do Your Homework) คุณยิ่งรอบรู้และมีความชำนาญในงานที่เป็นหัวใจสำคัญมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งลงมือทำงานนั้นได้เร็วขึ้นและทำมันให้แล้วเสร็จได้เร็วเท่านั้น
          10. ใช้พรสวรรค์ของคุณเป็นอำนาจสู่ความสำเร็จ (Leverage Your Special Talents) พิจารณาให้ชัดเจนว่าคุณถนัดทำงานอะไรหรือทำงานอะไรได้ดี แล้วก็เทใจให้กับการทำงานนั้น ๆ เต็มที่
          11. มองหาตัวเหนี่ยวรั้งมิให้ทำงานที่สำคัญของคุณ (Identify Your Key Constraints) พิจารณาคอขวดหรือจุดสกัดทั้งภายในหรือภายนอกที่เป็นตัวกีดขวางในการบรรลุเป้าหมายสำคัญที่สุดของคุณ และตั้งอกตั้งใจทำให้มันบรรเทาเบาบางลง
          12. เดินตามถังน้ำมันทีละใบ (Take It One Oil Barrel At A Time) คุณสามารถทำงานที่ใหญ่ที่สุดและสลับซับซ้อนมากที่สุดให้ลุล่วงได้ถ้าคุณทำมันทีละก้าว
          13. สร้างแรงกดดันให้กับตัวเอง (Put the Pressure on Yourself) จงสมมติว่าคุณต้องเดินทางไปต่างจังหวัดเป็นเวลาหนึ่งเดือนและจงทำงานให้ เหมือนกับว่า คุณต้องทำงานสำคัญทั้งหมดของคุณให้แล้วเสร็จก่อนออกเดินทาง
          14. เพิ่มอำนาจส่วนตัวของคุณให้สูงสุด (Maximize Your Personal Power) พิจารณาว่าช่วงเวลาไหนที่คุณมีพลังกายและพลังความคิดสูงที่สุดในแต่ละวัน แล้วทำงานที่สำคัญที่สุดของคุณในช่วงเวลานั้น พักผ่อนให้มาก ๆ เพื่อที่คุณจะได้ทำงานได้ดีที่สุด
          15. กระตุ้นตัวเองให้ลงมือทำ (Motivate Yourself Into Action) จงเป็นเชียร์ลีดเดอร์ให้กับตัวคุณเอง มองหาแต่สิ่งดี ๆ ในทุกสถานการณ์ เน้นย้ำในวิธีแก้มากกว่าในตัวปัญหา มองโลกในแง่ดีและสร้างสรรค์อยู่เสมอ
          16. ฝึกนิสัยผัดวันประกันพรุ่งในทางสร้างสรรค์ (Practice Creative Procrastination) เนื่องจากคุณไม่สามารถทำทุกอย่างได้ ดังนั้นคุณจึงต้องเรียนรู้ที่จะผัดผ่อนงานที่มีค่าต่ำออกไปก่อน เพื่อที่คุณจะได้มีเวลาพอในการทำเรื่องบางอย่างที่สำคัญจริง ๆ
          17. ทำงานที่ยากที่สุดก่อน (Do Most Difficult Task First) เริ่มต้นแต่ละวันด้วยงานที่ยากที่สุดก่อน งานที่ทำให้คุณต้องทุ่มเทตัวเองให้กับมัน และจงตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะทำมันจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์
          18. แล่และหั่นงานเป็นชิ้นเล็ก ๆ (Slice and Dice the Task)
          แบ่งงานใหญ่ที่ซับซ้อนลงเป็นงานชิ้นเล็กขนาดพอคำ แล้วเริ่มลงมือทำทานด้วยการทำงานชิ้นเล็ก ๆ ทีละชิ้นก่อน
          19. สร้างเวลาชิ้นโต (Crate Large Chunks of Time) แบ่งวันของคุณออกเป็นช่วงเวลาใหญ่ ๆ ที่จะสามารถทุ่มเทสมาธิเป็นเวลานาน ๆ ให้กับงานที่สำคัญที่สุด
          20. สร้างสำนึกแห่งความเร่งรีบ (Develop a Sense of Urgency) สร้างนิสัยเสือปืนไวในงาน โดยทำตัวให้ได้ชื่อว่าเป็นคนที่ทำงานทุกอย่างได้เร็วและทำได้ดี
          21. ทำงานทุกอย่างทีละอย่าง (Single Handle Every Task) จัดลำดับความสำคัญให้ชัดเจน เริ่มต้นทำงานที่สำคัญที่สุดก่อนทันที แล้วทำไม่หยุด จนกระทั่งงานเสร็จสมบูรณ์ 100 % นี่คือเคล็ดลับที่แท้จริงสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงและการทำงานที่ได้ผลสูงสุด
          หัวใจหลักๆซึ่งเป็นจุดประสงค์ของหนังสือเล่มนี้เท่าที่ได้อ่านดูแล้วก็คือหยุดการผัดวันประกันพรุ่งและการพัฒนาตนเองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนคำว่า กบ ในที่นี้ก็สื่อถึง งานที่มีความสำคัญและใหญ่โต กินกบตัวนั้นซะ ก็เลยสื่อความหมายว่า การทำงานที่มีความสำคัญก่อนแล้วค่อยไปทำงานอื่นๆทีหลัง(กินงานสำคัญนั้นซะ!!)
          Brian Tracy กับกฎทั้ง 21 ข้อของเค้านั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น การกินกบตัวที่มีความสำคัญที่สุดก่อน เพราะในแต่ละวันงานที่เราต้องทำนั้นมีมากมาย การจะทำงานให้ครบทุกงานจึงเป็นเรื่องที่อาจจะเป็นไปไม่ได้ จึงต้องเน้นไปที่งานที่สำคัญๆก่อน เมื่อระบุงานที่สำคัญๆออกมาแล้วก็จัดการ กินกบตัวนั้นซะ
          งานที่สำคัญคืองานที่ก่อให้เกิดผลกระทบในระยะยาวจากการลงมือทำมัน ส่วนงานที่ไม่สำคัญคืองานที่แทบจะไม่มีผลกระทบอะไรเลย จะทำหรือไม่ทำก็แทบจะไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไร คนบางคนอาจจะดูยุ่งอยู่กับงานทั้งวันแต่สุดท้ายชีวิตของคนนั้นก็ไม่ได้ก้าวหน้าไปไหนเลย หนำซ้ำงานก็ไม่ได้คืบหน้าไปไหนด้วย ทั้งๆที่ทุ่มเททำงานไปทั้งวัน นั่นก็เป็นเพราะว่าเขามัวแต่หมกหมุ่นอยู่กับงานที่ไม่มีความสำคัญนั่นเอง
          อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือเทคนิค A B C D E ซึ่งเป็นการจัดลำดับความสำคัญ โดยการแบ่งงานออกเป็นประเภทและเลือกทำงานที่สำคัญที่สุดก่อน
·       งานที่สำคัญที่สุด(A)
·       งานที่ควรทำ(B)
·       งานที่ทำได้ก็ดีแต่ถ้าไม่ทำก็ไม่เป็นไร(C)
·       งานที่ควรมอบหมายให้คนอื่นทำแทน(D)
·       งานที่ควรกำจัดทิ้งไปเพราะไม่มีความสำคัญ(E)
·       เทคนิค A B C D E เป็นการเลือกทำงานตามลำดับความสำคัญ
          ทั้งหมดนี้ คือเคล็ดลับที่แท้จริงสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ดังนั้น จงตัดสินใจที่จะฝึกหัดหลักการเหล่านี้ทุก ๆ วันจนกว่ามันจะกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวคุณ ถ้าคุณติดนิสัยการบริหารเหล่านี้จนมันกลายเป็นบุคลิกที่ถาวรอย่างหนึ่งของคุณแล้วละก็ อนาคตของคุณจะต้องกว้างไกลไร้ขีดจำกัดอย่างแน่นอน


อ้างอิงจาก : http://www.novabizz.com/NovaAce/Time/Eat_That_Frog.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น