บทที่ 7 บุคลิกภาพ

ความหมายบุคลิกภาพ
        บุคลิกภาพ หมายถึง คุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล แสดงออกโดยพฤติกรรมที่บุคคลนั้นมีต่อสิ่งแวดล้อมที่ตนกำลังเผชิญอยู่ และพฤติกรรมนี้จะคงเส้นคงวาพอสมควรลักษณะของแบบแผนพฤติกรรมและแบบแผนการคิดที่เป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะบุคคลในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม มนุษย์แต่ละคนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนกันไปทุกอย่าง แม้พี่น้องหรือฝาแฝดก็ตาม ทั้งนี้เพราะมนุษย์แต่ละคนมีความพิเศษและความเป็นหนึ่งในตัวขอแต่ละคน (Unique)
ความสำคัญของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพของคนมีความจำเป็นและสำคัญในการประกอบอาชีพการงานต่างๆผู้บริหารเป็นจำนวนมากให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้เพราะบุคลิกภาพของคนที่แสดงออกมามีอิทธิพลในการสร้างความรู้สึกและอารมณ์ต่อผู้พบเห็น ดังนั้นการรับบุคคลเข้าทำงานจึงมีความสำคัญที่จะต้องตระหนักเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงควรปฏิบัติดังนี้
1. การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน
·       ความรู้
·       เชาวน์
·       ร่างกาย
·       ความสนใจ
·       นิสัยหรือการแสดงออก
2. ตัวตัดสินบุคลิกภาพ
·       พันธุกรรม
·       วัฒนธรรม
·       สังคม
·       สภาพแวดล้อม/สถานการณ์
การจำแนกบุคลิกภาพ
          นักจิตวิทยา ได้จำแนกบุคลิกภาพเป็นหลายวิธีบางคนแบ่งเป็นพวกแสดงออก (Extrovert) กับพวกไม่แสดงออก (lntrovert) แบ่งเป็นส่วนที่เป็นรูปธรรม-ปรากฎกายภายนอก เช่น รูปร่างหน้าต่าง ผิวพรรณ การแต่งกาย กิริยาท่าทางเรียกว่า บุคลิกภาพภายนอก กับส่วนที่เป็นความรู้สึกนึกคิดเป็นความคิดความเห็นที่อยู่ในใจแต่สามารถถ่ายทอดออกมาได้เรียกว่า บุคลิกภาพภายใน นักจิตวิทยาได้แบ่งเป็นลักษณะนิสัย 16 อย่าง ขณะเดียวกัน ยังแบ่งบุคลิกภาพเป็นพวกType A และพวก Type B ได้แก่
          1. พวกแสดงออกดับพวกไม่แสดงออก
                   1.1 พวกไม่แสดงออกมักเงียบ
                   1.2 พวกแสดงออกกับพวกไม่แสดงออก
                   1.3 อีกพวกหนึ่ง เรียกว่าพวกชอบครอบงำ
          2. ลักษณะนิสัยเบื้องต้นของคน 16 อย่าง
                   2.1 ยอมรับชอบเอาชนะ                           2.2 ฉลาดน้อยกับฉลาดมาก
                   2.3 กระทบโดยความรู้สึกกับอารมณ์คงที่        2.4 ยอมตามกับครอบงำ
                   2.5 เอาจริงเอาจังกับสนุกไปเรื่อย                 2.6ประโยชน์เฉพาะหน้ากับยึดมั่นหลักการ
                   2.7 ขลาดกลัวกับกล้าเสี่ยงภัย                     2.8 ใจแข็งกับอ่อนไหวง่าย
                   2.9 ไว้วางใจกับขี้สงสัย                             2.10 ชอบปฏิบัติกับชอบจินตนาการ
                   2.11 ตรงไปตรงมากับมีเหลี่ยมคู                  2.12 มั่นใจตนกับประหวั่นพรั่นพรึง
                   2.13 อนุรักษ์กับชอบทดลอง                       2.14 พึ่งกลุ่มกับพึ่งตน
                   2.15 ควบคุมไม่ได้กับควบคุมได้                   2.16 ผ่อนคลายกับขึงเครียด
          3. บุคลิกภาพแบบ Type A กับ Type B
·       พวก Type A จะมีบุคลิกภาพ
1. มักเคลื่อนไหว เดิน กินอย่างรวดเร็ว
2. มักอนรนทนไม่ไหว
3. พยายามคิดหรือทำงานสองอย่าง
4. ไม่ค่อยมีเวลาว่าง
5. สาระวนอยู่กับตัวเลข
·       พวก Type B จะมีบุคลิกภาพ
1.ไม่เดือดเนื้อร้อนใจกับเวลาที่รีบเร่ง
2. ไม่รู้สึกว่าต้องพูดคุย
3. สนุกสนานเพลิดเพลิน
4. สบายใจไม่กังวลสิ่งใด
                   4. บุคลิกภาพกับอาชีพ
องค์ประกอบของบุคลิกภาพ
          ในขณะปฏิบัติงานการปรับปรุงบุคลิกภาพให้เหมาะแก่งานอาชีพก็เป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมให้ได้รับความสำเร็จในอาชีพนั้นๆ เช่น คนประกาศขายยาลดความอ้วนควรมีรูปร่างทรวดทรง บอบบาง ชอบพบปะผู้คน การพัฒนาบุคลิกภาพให้เป็นคนที่มีบุคลิกภาพให้เป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่พึงแสวงหาอาจแยกพิจารณาได้ตามหลัก 5 ของบุคลิกภาพและการบรรลุความเหมาะสมของบุคลิกภาพ ดังนี้
          1. หลัก 5 ประการของบุคลิกภาพ
                   1.1 ชอบแสดงออก
                   1.2 ประนีประนอม
                   1.3 ความมีสติ
                   1.4 ความมั่นคงทางอารมณ์
                   1.5 ความมีใจเปิดรับประสบการณ์
          2. การบรรลุความเหมาะของบุคลิกภาพ
                   2.1 ความเหมาะสมของคนกับงาน
                   2.2 ความเหมาะสมของคนกับองค์การ
                   2.3 บุคลิกภาพตามอำนาจหน้าที่
ลักษณะของคนที่มีบุคลิกภาพดี
          การมีบุคลิกภาพที่ดี เป็นสิ่งที่ทุกคนใฝ่ฝันต้องการมีและต้องการเป็น ระเด่น ทักษณา (2542) กล่าวว่าคนมีเสน่ห์นั้น จะต้องประกอบด้วย มาดต้องตา วาจาต้องใจ ภายในต้องเยี่ยม และอื่นๆ ซึ่งมาดต้องตานั้นมีส่วนทำให้เกิดเสน่ห์ทางตาถึง 83% ส่วนวาจาต้องใจ คือ ฟังด้วยหูแล้วเกิดเสน่ห์" ดังนั้น ปรากฎกาย คือ รูปร่างหน้าตา การแต่งกาย เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องบำรุงรักษาให้เกิดเสน่ห์ตลอดเวลา ดังแนวคิด มาดต้องตา วาจาต้องใจภายในต้องเยี่ยม












อ้างอิงจาก :
1 ผศ.ดร. นฤมล สุ่นสวัสดิ์ 2549 , การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน : สำนักพิมพ์วันทิพย์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น