ความหมายของเจตคติ
เจตคติ
เป็นวิธีสื่ออารมณ์ความรู้สึกต่อคนอื่น
เมื่อมองด้านบวกและคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเผชิญความสำเร็จ
จะส่งเจตคติทางบวกออกไปคนรับก็จะตอบรับอย่างชื่นชมเมื่อมองด้านลบและคาดการณ์เลวร้ายก็มักส่งเจตคติด้านลบออกไปคนรับจะพยายามหลีกห่างเจตคติเป็นสิ่งที่อยู่ในสมองเจตคติเป็นชุดความคิดเป็นทางที่คนมองสิ่งต่างๆทางความคิดแล้วแสดงความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบต่อบุคคล
วัตถุ ความคิดหรือเหตุการณ์ต่างๆ เจตคติ
เป็นตัวการทำให้คนแสดงพฤติกรรมดังนั้นการเจ้าใจเรื่องเจตคติทำให้สามารถเข้าใจและรู้ท่าทีพฤติกรรมของคนได้
ดังนั้นอาจสรุปความหมายของเจตคติ คือ
ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดๆ ซึ่งแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมในลักษณะชอบ ไม่ชอบ
อาจเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย พอใจ ไม่พอใจ ต่อสิ่งใดๆ
ในลักษณะเฉพาะตัวตามทิศทางของทัศนคติที่มีอยู่ และทำให้จะเป็นตัวกำหนดแนวทางของบุคคลในการที่จะมีปฎิกริยาตอบสนอง
องค์ประกอบของเจตคติ
1. องค์ประกอบด้วย
1.1
ด้านความรู้ความเข้าใจ เป็นความรู้หรือความเชื่อมั่นอันเป็นผลมาจากประสบการณ์
จากการเรียนรู้
1.2
ด้านอารมณ์และความรู้สึก เป็นการแสดงความรู้สึกสภาพอารมณ์ ความนึกคิด
หรือความรู้สึกอันได้จากการประเมินสิ่งที่ได้เรียนรู้มา
1.3
ด้านพฤติกรรม คือ
แนวโน้มของคนที่จะแสดงออกซึ่งพฤติกรรมหรือปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนชอบหรือไม่ชอบ พอใจ
ไม่พอใจ อันเป็นผลมาจากความรู้ ความรู้สึกนึกคิด
2. ที่มาของเจตคติ
2.1
จากประสบการณ์ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด
2.2
จากการเรียนรู้ เช่น การเรียน การอบรมสั่งสอน หรือกระบวนการขัดเกลาทางสังคม
2.3
จากการเลียนแบบผู้อื่น เช่น ทำตามผู้ที่ตนเคารพนับถือ หรือคนที่ตนยอมรับ
โดยอาจทำให้เป็นคนที่น่ารักสำหรับคนนั้น
3. เจตคติมีหน้าที่ทำอะไร
3.1
หน้าที่เป็นเครื่องมือ ปรับเปลี่ยน ใช้ประโยชน์ เกิดจาการที่คนต้องการได้รับรางวัล
หลีกเลี่ยงการลงโทษ
3.2
ทำหน้าที่ปกป้องอัตตาของตน เมื่อคนได้รับข่าวสารข้อมูล
หรือเผชิญเหตุการณ์ที่มีลักษณะคุกคาม จะใช้กลไกป้องกันตน
3.3 หน้าที่แสดงออกซึ่งค่านิยม
เป็นการแสดงถึงประเภทของตน ที่คิดว่าคนเป็น เช่น นักประชาธิปไตย นักเสรีนิยม ฯลฯ
3.4
หน้าที่ด้านความรู้ โดยทั่วไป คนจะแสดงหาความรู้ เพื่อช่วยอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่
สลับซับซ้อนรอบตัว
4. ประโยชน์ของเจตคติ
4.1
กระตุ้นความกระตือรือร้น
4.2
เพิ่มพูนความคิดริเริ่ม
4.3
เป็นเหตุให้สิ่งที่ดีเกิดขึ้น
5. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติ
5.1
คลื่นสภาพแวดล้อม เช่น การถดถอยทางการเงิน ความป่วยไข้ ความเศร้าเสียใจ
5.2
ปัญหาภาพลักษณ์ตนเอง มักเป็นเครื่องแสดงความรู้สึกของตน ถ้ารู้สึกอ้วนหรือไม่ชอบใจเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
จะเกิดภาพลักษณ์ทางลบ บางทีอาจเป็นสัญญาณถึงความจำเป็นต้องปรับปรุงตัว
5.3 ลอยตามกระแสลม
บางครั้งเจตคติของเราก็ลบไปตามสิ่งต่าง ๆ แม้ส่วนตัวจะเป็นไปด้วยดีก็ตาม
เราอยู่ในโลกของข่าวร้าย เราต้องรู้เท่ากัน ไม่ล่องลอยไปตามกระแสลม
การปรับเจตคติ
เนื่องจาก
คนมีแนวโน้มมีเจตคติด้านลบจึงต้องมีการปรับเจตคติของตนเสมอเพื่อผดุงเจตคติด้านบวกในการปรับเจตคติมี
8 วิธี คือ แผ่นพลิก เล่นด้านชนะ คงความเรียบง่าย สร้างเกาะกำบัง
ให้เจตคติบวกกับคนอื่นมองดูตัวเองดีขึ้นยอมรับสภาพร่างกายมีส่วนเชื่อมและกระจ่างชัดภารกิจตน
โดยมีวิธีการ ดังนี้
1. วิธีปรับเจตคติ 1 แผ่นพลิก
2. วิธีปรับเจตคติ 2 เล่นด้านชนะ
3. วิธีปรับเจตคติ 3 การคงความเรียบง่าย
4. วิธีปรับเจตคติ 4 สร้างเกราะกำบัง
5. วิธีปรับเจตคติ 5
ให้เจตคติด้านบวกแก่คนอื่น
6. วิธีปรับเจตคติ 6 มองดูตัวเองดีขึ้น
7. วิธีปรับเจตคติ 7
ยอมรับสภาพร่างกายมีส่วนเชื่อม
8. วิธีปรับเจตคติ 8 กระจ่างชัดภารกิจตน
การมองภาพ
คือการใช้ภาพจริง ภาพถ่าย หรือสัญลักษณ์
หรือภาพในความคิดให้เห็นภาพรางวัลแห่งความสำเร็จ ความสำเร็จตามเป้าหมายหรือภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นจริงอาจใช้ภาพถ่ายจากนิตยสาร
หนังสือพิมพ์ ใบปลิว แผ่นพับ บรรยายสิ่งที่คุณต้องการได้ดำรงตำแหน่งที่นั้น เช่น
1. อาคารองค์การสหประชาชาติ
2.
อาคารอันเป็นที่ตั้งของสำนักนายกรัฐมนตรี
3.
เห็นภาพตนเองสวมเสื้อผ้าชุดตำแหน่งนั้น หรือสวมครุยปริญญา
4.
นักบาสเกตบอลมองเห็นภาพตนเองโยนบอลลงห่วงทุกครั้ง
5.
นักมวยเห็นภาพตนเองชกคู่ต่อสู้ได้อย่างคล่องแคล่ว ตรงชัด
การมองเห็นภาพหรือการใช้ภาพเพื่อให้มองเห็น
ช่วยเป็นเครื่องกระตุ้นปลุกเร้าให้เกิดการกระทำไปสู่ความจริง
นองจากนั้นยังอาจติดภาพที่ต้องการเป็นต้องการทำต้องการมีไว้ที่บอร์ดในบ้าน
ที่ทำงาน เพื่อให้เตือนตน
ติดภาพไว้ที่กระจกเงาเพื่อ4.ตัวขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จจะได้มองเห็นทุกบ่อยๆมองเห็นภาพในจินตภาพ
ในสิ่งที่ได้รับความสำเร็จได้รับปริญญาได้รับรถยี่ห้อที่ใฝ่ฝันเมื่อมองภาพจะทำให้เกิดการกระทำอย่างเชื่อมั่นแล้วจะได้รับสิ่วที่ตั้งเป้าหมายไว้
ความหมายของค่านิยม
ค่านิยม คือ
สิ่งที่บุคคลยึดถือปฏิบัติเป็นรูปแบบของความเชื่อที่แต่ละคนยึดถือว่าควรจะปฏิบัติหรือไม่ควรปฏิบัติอย่างไรพิจารณาเลือกสรรแล้วว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าก็จะปฏิบัติหรือยกเว้นการปฏิบัติค่านิยมมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคลและยังเป็นสิ่งสำคัญขั้นพื้นฐานในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของบุคคล
เพราะพฤติกรรมหรือการแสดงออกต่างๆของบุคคลย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะค่านิยมที่บุคคลนั้นมีอยู่
กระบวนการเกิดการพัฒนา
ค่านิยม
เกิดจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ตั้งแต่วัยเด็ก
จากสิ่งแวดล้อมในบ้านจะรับเอาค่านิยมต่างๆ จากบิดามารดา บุคคลรอบๆ ตัว
เมื่อเข้าโรงเรียนก็จะรับเอาค่านิยมจากโรงเรียนจากสถาบันทางสังคมอื่นๆ เช่น สโมสร
วัดกลุ่มเพื่อนๆตลอดจนสื่อสารมวลชนต่างๆถ้าค่านิยมส่วนที่รับรู้ใหม่ๆซึ่งสามารถยึดเป็นมาตรฐานการดำเนินชีวิตของตนต่อไปกระบวนการเกิดค่านิยมว่าเกิดจากความรู้สึกแล้ววิวัฒน์ไปจนเป็นการปฏิบัติ
ได้แก่
1. ความรู้สึก
2. ความคิดเห็น
3. การติดต่อสื่อสารและการถ่ายทอด
4. การเลือกเชื่อและเกิดศรัทธา
5. การปฏิบัติ
ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
วัฒนธรรม
ซึ่งเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตที่กำหนดบทบาทและพฤติกรรมของมนุษย์ที่อยู่ที่ยู่ร่วมกันในสังคมหนึ่งๆนั้นมาสู่แบบแผนการดำเนินชีวิตในการทำงานของมนุษย์ที่ร่วมอยู่กันภายในองค์การ
ซึ่งแบบแผนในด้านความคิดความเชื่อ ค่านิยม ที่บุคคลนั้นมีต่อองค์การ
ผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์การ
โดยเป็นตัวแทนของแบบแผนที่ซับซ้อนของความเชื่อและการแบ่งปันสิ่งที่คาดหวัง
ประกอบด้วย
1.
การแสดงออกที่คล้ายคลึงกันของพฤติกรรมผู้ปฏิบัติงาน
2. การกระจายบรรทัดฐานไปทั่วทั้งองค์การ
3.
มีค่านิยมขององค์การที่ยึดถือกันอย่างเหนียวแน่นหรือเข้มแข็ง
4. มีการเน้นปรัชญาองค์การ
ทฤษฎีของดีลและเคเนดี้
ดีล
และ เคเนดี้ (Deal
& Kenedy,1988)
ได้สำรวจบริษัทหลายบริษัทและได้บ่งชี้วัฒนธรรมเป็นสี่ประเภท คือ วัฒนธรรมบึกบึน
วัฒนธรรมทำหนัก/เล่นหนัก วัฒนธรรมเดิมพันองค์การ และวัฒนธรรมแบบกระบวนการวัฒนธรรมเหล่านี้
ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดของการเสี่ยงที่พ่วงกับกิจกรรมขององค์กาและความรวดเร็วของการตอบกลับที่ได้รับจากลูกค้า
อย่างไรก็ตาม
ผู้เขียนทั้งสองยอมรับว่าไม่มีองค์การใดที่จะเป็นแบบหนึ่งแบบใดไปทั้งหมดหลักใหญ่ใจความของการแบ่งเช่นนี้เพื่อให้ฝ่ายบริหารทราบว่าตนตระหนักวัฒนธรรมใดในองค์การ
อย่างไรก็ตาม แท้ที่จริงแล้วไม่มีองค์การใดจะมีรูปแบบวัฒนธรรม
รูปแบบหนึ่งใดโดยเฉพาะแต่จะมีวัฒนธรรมทั้ง 4 รูปแบบ คือ
1. แผนกการตลาดจะมีวัฒนธรรมบึกบึน
2. แผนกผลิต จะทำงานหนักสนุกสนาน
3. แผนกวิจัยและพัฒนา จะมีวัฒนธรรมที่เสี่ยงสูง
รู้ผลช้าส่วน
4. แผนกบัญชีและการเงิน
ต้องปฏิบัติทุกอย่างตามขั้นตอน
อ้างอิงจาก
:
1 ผศ.ดร. นฤมล สุ่นสวัสดิ์ 2549
, การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน : สำนักพิมพ์วันทิพย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น