บทที่ 8 การสร้างความเชื่อมั่นตนเอง

แนวคิดของความเชื่อมั่นในตนเอง
           แนวคิดความเชื่อมั่นในตนเองมีที่มาหลากหลายแนวคิด แนวคิดหนึ่ง คือ ความคิดที่ว่า ความเชื่อมั่นในตน
          1.ประสิทธิชัยในตน เป็นความเชื่อมั่นว่าตนเองมีความสามรถคิด เข้าใจ และตัดสินใจ ที่จะทำการเรื่องนั้นๆ เมื่อมีประสิทธิชัยในตัวเองสูง ก็จะเชื่อว่าตนเองมีความสามารถสูง เมื่อมีประสิทธิชัยในตนต่ำ ก็จะวิตกว่าตนจะทำงานนั้นๆไม่ได้ ความรับรูประสิทธิชัยของตนเองมีอิทธิพลต่อการทำงานมาก
          2.ความนับถือตนเอง คือ สิ่งที่คิดและรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง อาจอธิบายความนับถือตนเองได้ว่าเป็นความรู้สึกภายในลึกๆของคุณค่าแห่งตนของตน การเชื่อว่าตนเองมีค่าเป็นส่วนสำคัญในการทำสิ่งต่างๆให้บรรลุและสำเร็จได้
หลักการพัฒนาความเชื่อมั่น
          ในการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง แม้จะมีวิธีการต่างๆ แต่ก็มีหลักการที่ให้เป็นแนวคิดให้ตระหนัก เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง คือ
          1. เมื่อรังเกียจตนเอง จะมีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ แต่การที่ไม่สามารถเป็นคนสมบูรณ์พร้อมก็ไม่ควรเสียความนับถือตนเอง
          2. ความชื่อมั่นในตน ไม่ใช้การหลอกหรือหลงตน แท้จริงความเชื่อมั่นในตนเอง
          3. การชอบตนเอง จะชอบทุกสิ่งที่ตนเองทำ มีความเชื่อในตนเองเป็นความนิยมชมชื่นความสามรถพิเศษที่ตนมี
          4. การรับผิดชอบต่อการกระทำของตน ตนเองทำอะไรลงไป แล้วมัวแต่โทษคนอื่น หรือตราหน้าว่าตนเองเป็นคนเลว ก็จะเป็นคนที่ไม่เคยได้รับประสบการณ์แห่งความเชื่อมั่นในตน
          5. รับความจริงตามความเป็นจริง บางสิ่งบางอย่างที่เหนือการควบคุม ก็รับผิดชอบต่อปฏิกิริยาของตน ยอมรับว่านั้นเป็นประสบการณ์จริงและเผชิญหน้ากับสถานการณ์นั้นๆ
          6. มีความแตกต่างกับที่สำคัญเด่นชัด ระหว่างการเป็นคนดีที่มีข้อบกพร่องให้ปรับปรุงกับการเป็นคนเลิกล้มยอมพ่ายกลางคัน เมื่อชื่นชมสิ่งดีในบุคลิกภาพของตน แม้จะมองเห็นว่าข้อบกพร่อง ต้องพึ่งพาคนอื่น ก็ยังสามารถสบายใจ ชอบพอตนเองที่แท้จริง
วิธีสร้างความเชื่อมั่นตนเอง
          สามารถแบ่งจิตของมนุษย์เป็น 3 ระดับ จะพูดถึงแค่ จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกเท่านั้น
          1. จิตสำนึก มีหน้าที่ในการรับรู้ นึกคิด สั่งการ โดยอาศัยประสาทรับรู้ทั้งห้า คือ จมูก ลิ้น กาย ในการรับรู้ นึกคิด สั่งการ
          2. จิตใต้สำนึก เป็นแหล่งบันทึกข้อมูลขณะคนไม่รู้ตัว คนที่มีความคิด นิสัยพฤติกรรม การมองตนเอง
          3. จิตเหนือสำนึก เป็นแหล่งบันทึกข้อมูลขณะคนที่ไม่รู้ตัว คนที่มีความคิด นิสัยใจ พฤติกรรม มองตนเอง
การเผชิญหน้าความจริง
         การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมเผชิญความจริง ซึ่งจะอธิบาย ดังต่อไปนี้
          1. การเผชิญหน้ากับการยอมรับความจริง คนมันหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ไม่ยอมรับความเป็นจริง เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งภาพลักษณ์ที่ผิดพลาดไม่เป็นจริง คนชอบซ่อนความเป็นจริง เน้นประสบการณ์ที่ไม่ต่อเนื่องกับภาพลักษณ์ของตนเอง
          2. ถอดหน้ากาก คนจึงควรถอดหน้ากากออก บางครั้งคนสวมหน้ากาก เพื่อปิดบังความรู้สึกที่แท้จริงของคน
          3. ผลของการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของตนเอง คือ วิธีการมองตนองได้ เมื่อเปลี่ยนวิธีมองตนเองจากด้านลบเป็นด้านบวก การกระทำหรือการปฏิบัติตัวก็เปลี่ยนแปลงไป
















อ้างอิงจาก :
1 ผศ.ดร. นฤมล สุ่นสวัสดิ์ 2549 , การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน : สำนักพิมพ์วันทิพย์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น