ความหมายของเป้าหมายของชีวิตและการทำงาน
แอลดากและคาซูฮารา
นิยามคำว่า เป้าหมาย หมายถึงผลตอนสุดท้ายหลังที่ต้องการจากการทุ่มเทพลังบางอย่างไป
โรอุย์ลาร์ด กล่าวว่า เป้าหมาย
คือ ความสำเร็จที่ตั้งไว้ ส่วนวาลืแลสและมาสเตอร์ อธิบายว่า
เป้าหมายเป็นความฝันที่มีเส้นตาย คือ ฝันว่าต้องการได้ ต้องการเป็นอะไร
หรือทำอะไรแล้ว จึงกำหนดวันสำเร็จไว้ด้วย เช่น อ่านหนังสือสามก๊กจนจบภายใน 7 วัน
เบรชท์ กล่าวว่า
เป้าหมาย มีความหมายว่าเต็มไปด้วยเป้าประสงค์ ประสงค์เพิ่มพูนคุณภาพชีวิต
ช่วยให้คนได้รับความสำเร็จในชีวิต
ฮิลเกอร์และฮานส์
นิยามเป้าหมายไว้ว่า แผนการปฏิบัติเป็นถ้อยแถลง
หรือข้อความที่แสดงความปรารถนาที่เติมเต็มความจำเป็นที่สำคัญโดยการทำงานต่างๆให้สำเร็จ
ดังนั้น เป้าหมายในชีวิต ( Life Goals) คือ สิ่งที่เราให้ความสำคัญ
และปรารถนาจะให้เกิดขึ้นในอนาคต และเป็นแรงจูงใจให้คนเรามีพลังมุ่งไปสู่อนาคต
การมีเป้าหมายในชีวิต จะช่วยให้คนเราใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย มีความหวัง
และมีทิศทางมุ่งสู่อนาคตเพราะการมีเป้าหมายจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า เขาต้องการอะไรบ้าง
เขาจะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร เพื่อใคร และเพื่อที่จะทำอะไร
ความสำคัญของเป้าหมายของชีวิตและการทำงาน
เป้าหมายในทิศทางในการดำรงชีวิตและปฏิบัติงาน
ให้รู้ว้าเดินทางไปถึงจุดใดชี้ให้เห็นระดับวุฒิภาวะ และปรับดุลยภาพของชีวิต
ได้ให้ความสำคัญของเป้าหมายไว้หลายประการ คือ
1. เป้าหมายให้จุดหมายในชีวิต
เมื่อคนรู้ว่าต้องการอะไรจากชีวิตจะพยายามทำอย่างดีที่สุดในการบรรลุสิ่งนั้น
2. เป้าหมายเป็นป้ายบอกทางให้ชีวิต
จะรู้ได้อย่างไรว่าชีวิตของตนเดินทางได้ถูกทาง
เมื่อเราทำตามเป้าหมายของเราสำเร็จนั้นแหละคือสิ่งที่เราเดินมาถูกทาง
3. เป้าหมายช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเองให้แข็งแกร่งขึ้น
เมื่อได้รับความสำเร็จจะรู้สึกดีใจ เชื่อว่าชีวิตมีความหมาย
4. เป้าหมายชี้ให้เห็นระดับวุฒิภาวะ
เป้าหมายที่ตั้งช่วยให้รู้ว่ามีความเป็นผู้ใหญ่หรือเติบโตเพียงใด
5. เป้าหมายช่วยให้บรรลุดุลยภาพแห่งชีวิต ชีวิตมีเป้าหมายหลายอย่างที่ต้องทำให้สำเร็จ
6. เป้าหมายช่วยให้จัดการกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงหรือปรับชีวิตให้เหมาะกับเหตุการณ์ที่กระทบได้อย่างรู้เท่าทัน
หลักการบรรลุเป้าหมายของชีวิตในการทำงาน
หลักการบรรลุเป้าหมาย
ในการบรรลุเป้าหมายในชีวิตส่วนตัว ส่วนรวม หรือแม้กระทั่งในตำแหน่งหน้าที่การงาน
เป็นสิ่งที่ ทุกคนปรารถนา Rouillard
(1993, pp. 31-68) ได้ให้หลักของการบรรลุเป้าหมายว่า ประกอบด้วย ท า
รายการฝัน แล้วกำหนดเป้าหมาย ซึ่งต้องเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
หลังจากนั้นวางแผน แล้วทำตามแผนนั้นตามลาดับ ดังนี้
1. เขียนรายการฝัน
จะบันทึกสิ่งที่ต้องการท า ต้องการเป็น ต้องการมีไปอยู่ตลอด เช่น ต้องการ
เรียนสูงๆ ต้องการรวย หรือต้องการมีบุตร เป็นต้น
2. ผันเป็นเป้าหมาย นำรายการฝันที่เขียนไว้มาทำเป็นเป้าหมาย
เช่น ต้องการมีความรู้ ปริญญาโท ต้องการมีเงินล้าน ต้องการมีลูกสามคน
3. ขยายเป็นถ้อยแถลง
ระบุความต้องการให้ชัดว่า สำเร็จอะไร เท่าไร เมื่อไร
4. แปลงเป็นแผนปฏิบัติ
วางแผนดาเนินการแล้วปฏิบัติตามแผน หลังจากนั้นสำรวจว่าเป็นไป ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด
อุปสรรคขวางกั้นของการตั้งเป้าหมายของชีวิตและการทำงาน
เมื่อตั้งเป้าหมายแล้ว
หากบรรลุผลตามที่ต้องการได้
ก็จะสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเองมีใจดำเนินการต่อไปจะไปถึงเป้าหมายอื่นหรือเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นและอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคขวางกั้นในการบรรลุเป้าหมาย
อุปสรรคที่ 1 ไม่ตั้งเป้าหมาย
อุปสรรคที่ 2 ไม่เคยได้เรียนรู้วิธีการ
ไม่รู้วิธีการตั้งเป้าหมาย รู้ว่าสิ่งที่ทำมีประสิทธิผล ทำสิ่งต่างๆ
ที่ถูกต้อง รู้ว่าทำงานได้ ประสิทธิภาพ ทำสิ่งต่างๆได้ถูกต้องแล้ว แต่สิ่งนั้นอาจทำได้ไม่ถูกต้องกับเวลา
การคิดว่าควรบรรลุอะไรในแต่ละวัน ทำอะไร จึงไปถึงสิ่งที่ต้องการในอนาคตจึงเป็นการสร้างเป้าหมายให้แก่ชีวิตปัจจุบันและอนาคต
อุปสรรคที่ 3 เคยลองแล้วพลาด
เมื่อพลาดจะเข็ด ขยาดแขยงไม่กล้าอีก มักพูดว่า “แล้วถ้าไม่สำเร็จอีกล่ะ….”
ทำให้ยอมแพ้ได้ ง่ายๆ แท้ที่จริงความล้มเหลวหรือพลาดเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง
อุปสรรคที่ 4 ความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นความมั่นใจในคุณค่าความสามารถของตนเอง ทำให้ยืนหยัดอย่างมี
เหตุผลในการทำการงานหรือใช้ชีวิต ถ้ามัวสงสัยในตนเองหรือไม่กล้า จะทำให้ได้รับทุกข์จากการขาด
ความเชื่อมั่น
อุปสรรคที่ 5 ชีวิตนี้คงไม่มีหวัง
บางคนคิดว่าชีวิตเราก็แค่นี้เอง
อยู่ไปวันๆอย่างเหนื่อยหน่ายหรือเริงรื่นไปตามกระแส จะเอา
อะไรกันหนักหนากับชีวิตนี้
อุปสรรคที่ 6 ไม่อยาก
ปฏิเสธทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต ทำโน่นก็ไม่เอา ทำนี่ก็มีสิ่งขัดขวาง
คนกางกั้น ก็เลยไม่คิดทำ อะไร เป็นคนที่“ไม่ต้องการตั้งเป้าหมาย”
เพราะไม่ต้องการขยับเขยื้อนไปไหน ทั้งที่มีความสามารถ
อุปสรรคที่ 7 เป้าหมายของคนอื่น
ถ้าเป็นงานของคนอื่น รีบรับอาสา เพื่อเอาใจเขา เพื่อให้เขาสบายใจ
จนแทบไม่มีเวลาวางแผน ท างานของตนเอง มัวไปคิดว่าสิ่งที่เป็นคุณค่าของคนอื่น
บางวันอาจกลับมาให้คุณแก่ตน
อุปสรรคที่ 8 โซนสบาย
อยู่ในแดนที่ตนเองพอใจ รู้สึกว่าแค่นี้ชีวิตสุขดีอยู่แล้ว
จะตะเกียกตะกายไปหาอะไรอีก บางที ถึงกับหยุดการเรียนรู้ หรือการเติมเต็มชีวิตของตน
อุปสรรคที่ 9 เป้าหมายไม่สมจริง
เป้าหมายที่ตั้งไว้สูงเกินไปบ้าง บางกรณีต่ำไปบ้าง ทำให้ขัดข้องใจ ดาเนินการลำบาก
หรือง่าย เกินไป ไม่ท้าทาย
อุปสรรคที่ 10
หวังพึ่งคนอื่นให้บรรลุเป้าหมายแทน ต้องการให้คนรอบข้าง เช่น สามี-ภรรยา
ลูกน้อง-นาย หรือคนอื่นทำให้เป้าหมายของตน บรรลุผล เช่น
เป้าหมายการได้รับการส่งเสริม เป้าหมายความสุขในการสมรส หวังพึ่งแต่คนอื่น
อุปสรรคที่ 11 คนอื่นพยายามขัดขวาง
ด้วยเหตุผลหลายประการ มีคนไม่ต้องการให้ไปถึงเป้าหมาย
จึงเล่นการเมืองด้วยการพูดตรงๆ การใส่ไฟ ใช้ความอิจฉาตาร้อน
บางครั้งข่มขู่หรือไม่ได้เล่ห์ก็ด้วยกล ให้ไปไม่ถึงเป้าหมาย
อุปสรรคที่ 12 ไม่จริงจังกับเป้าหมาย
บางคนตั้งเป้าหมายไว้แล้ว ทั้งๆ ที่มีความสามารรถมีความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างแท้จริง
แต่ไม่อาจ บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากไม่จริงจังกับเป้าหมาย และโลเล
อย่างโน้นก็ไม่อยากได้ อย่างนี้ก็อยากทำ จึงทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่สำเร็จ
ตัวขับเคลื่อนสู้ความสำเร็จของการตั้งเป้าหมายของชีวิตและการทำงาน
1. เขียนเป้าหมายลงไว้
เป็นลายลักษณ์อักษร บังคับให้คิด บังคับให้ทำ
ให้เปรียบเทียบความก้าวหน้าที่ต้องการ
2.
ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายแต่สามารถไปถึงได้
3. มั่นใจว่าเป้าหมายสอดคล้องกัน
ถ้าไม่สอดคล้องกันก็จะทำให้ไขว้เขว
4. มีเป้าหมายที่แน่ชัด
5. วางกำหนดเวลาไว้ด้วย
ผูกเป้าหมายไว้กับเวลา
6. วางกำหนดลำดับความสำคัญ
ดูว่าเป้าหมายไหนจะสำเร็จก่อน
7. ทบทวนและแก้ไขเป้าหมาย
มองรายการเป้าหมายอยู่ทุกเดือน ถ้ามีอันไหนสำเร็จแล้ว ก็ให้ตัดออก
8. ให้รางวัลตนเอง
จงให้รางวัลแก่ตนเองเมื่อทำเป้าหมายสำเร็จ
สรุป คือ เป้าหมายของชีวิตและการทำงาน
นับว่ามีความสำคัญ และจาเป็นยิ่งในการที่จะดำเนินชีวิตให้ ประสบความสำเร็จตามที่ตนปรารถนา
เป้าหมายเป็นเครื่องมือนำทางการดำรงชีวิตของบุคคลเป็น ทิศทางให้ทำงานประสบความสำเร็จ
ในชีวิตต้องตั้งเป้าหมาย
อ้างอิงจาก
:
1 ผศ.ดร. นฤมล สุ่นสวัสดิ์ 2549
, การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน : สำนักพิมพ์วันทิพย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น