บทที่ 4 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน

ความหมายความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
          ประสิทธิภาพ คือ ความสามารถในการใช้ทรัพยากรในกระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อบรรลุจุดหมายขององค์การได้ดี (ปีเตอร์ดรักเกอร์ Peter Drucker 1967)
          ประสิทธิภาพ คือ การใช้คนน้อยกว่างาน แต่สามารถทำงานให้สำเร็จไม่ว่าจะเป็นการบรรลุความสำเร็จในรูปแบบของภารกิจ เป้าหมาย นโยบาย หรือวัตถุประสงค์ก็แล้วแต่ผลงานที่สำเร็จได้ใช้คนและทุนพอดีกับงาน และยิ่งผลงานที่สำเร็จได้ใช้คนและทุนต่ำมากเท่าใด ยิ่งถือว่าเกิดประสิทธิภาพได้มากเท่านั้น
          จากความหมายสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถในการดำเนินงานด้านต่างๆให้สำเร็จลุล่วงตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดคุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด
          ประสิทธิผล (effectiveness) หมายถึง การบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่พึงปรารถนาหรือเป็นไปตามที่คาดหวังไว้  พูดง่ายๆ ชัดๆ ก็คือ ประสิทธิผล พิจารณาจากการนำผลของงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่ได้รับเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย
          การพิจารณาประสิทธิภาพนั้นจะกระทำหลังจากพิจารณาประสิทธิผลนั่นคือ ประสิทธิภาพของงาน โครงการ หรือกิจกรรมเกิดภายหลังประสิทธิผล ดังนั้นหากงาน โครงการ หรือกิจกรรมไม่มีประสิทธิผลแล้ว ประสิทธิภาพก็คงไม่เกิด การทำงานที่ประสบผลสำเร็จจะต้องมีทั้งประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ
4C ของคุณภาพ
          1. ความมุ่งมั่น (Commitment) เปรียบได้กับวิญญาณของนักกีฬาที่ต้องฝึกซ้อมคนเดียวนับร้อยนับพันครั้งก่อนเข้าแข่ง
          2. ความสอดคล้อง (Compliance) คือ ต้องทำงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ตอบรับกับความต้องการของลูกค้า เรียกได้ว่า ทำงานมีคุณภาพ
          3. สมรรถนะ (Competency) เป็นความรู้ความสามารถ ที่จะทำให้เกิดการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว เช่น นักบินอวกาศต้องมีสมรรถนะ เช่นเดียวกับ เภสัชกร ศัลยแพทย์ นักดับเพลิง บัญชี ที่ต้องมีสมรรถนะในการทำงานทั้งสิ้น คือ การมีทักษะเฉพาะ มีการศึกษา การวินิจฉัย และสามารถใช้ความรู้แก้ปัญหาและมีเจตคติที่รับผิดชอบ
          4. การสื่อสาร (Communication) เป็นสัญญาส่วนตัวที่สม่ำเสมอและเป็นข้อตกลงเสมอภาคระหว่างฝ่ายบริหารกับผู้ปฏิบัติงานว่าจะทำให้งานไหลอย่างสม่ำเสมอ
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
          ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมคุณภาพ ใช้คำว่า "ความบกพร่องเป็นสูญ (Zero defect)" หรือ "ไม่มีข้อบกพร่อง (Error-free)" หมายความว่า ผลิตสินค้า หรือ ให้บริการได้อย่างไม่บกพร่องเลย นี่เป็นมาตรฐานได้อย่างหนึ่ง ผู้เชียวชาญบางคนเชื่อว่า ข้อบกพร่องเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คนเราไม่ได้สมบูรณ์ พร้อม จึงเสนอแนวคิดที่อาจใช้เป็นมาตรฐานที่ให้ผู้ปฏิบัติงานคำนึงนึกให้ตอบสนองสินค้า หรือ บริการแก่ ลูกค้าตามความจำ เป็น หรือ ความต้องการของลูกค้า และ ควรจะใกล้ "ความบกพร่องเป็นสูญ " ที่สุด ต่อไปนี้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
          1. มาตรฐานที่กำหนดควรใกล้กับความคิด ความบกพร่องเป็นสูญ แม้ว่าคนจะทำผิดพลาดบ้างก็ตาม   2. ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานมีผลกระทบ ควรมีส่วนร่วมกำหนด วางแผนงาน และทุกคนเห็นชอบ
          3. ควรกล่าวอย่างชัดเจน สมบูรณ์ เป็นลายลักษณ์อักษร
          4. ต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
          5. ต้องเป็นที่เข้าใจ และทำงานได้
          6. ไม่ให้ใครมาบิดผันมาตรฐาน ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด
          7. ฝ่ายบริหารระดับสูงให้การสนับสนุน
          8. ควรมีเงื่อนไข หรือ เงื่อนเวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
          9. มีการเพิ่มเติมตามจำเป็น ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องต้องยินยอม เป็นข้อตกลงใหม่
          10. เขียนในลักษณะให้รู้ว่า แท้จริงลูกค้าต้องการอะไร
          11. ควรจะสะท้อนเจตคติด้านบวก
          12. มุ่งที่ผลลัพธ์
          13. มีการกล่าวถึงการให้รางวัล คำชมเชย หรือ บำรุงขวัญกำลังใจ
          14. ต้องทำการอย่างเอาจริงเอาจัง
          15. ต้องมีโปรแกรมการศึกษา การพัฒนา การฝึกอบรมไว้ด้วย
          16. ต้องสะท้อนเป้าหมายขององค์การ
          17. กำหนดให้ทุกฝ่าย แผนก หน้าที่กระทำ กระทำสอดคล้องกัน
          18. ให้มีการตรวจสอบ ตรวจประเมินได้อย่างเป็นอิสระ
          19. สร้างสรรค์ และดำเนินการด้วยความใส่ใจ
          20. สื่อสานอย่างทั่วถึงต่อเนื่อง
การสร้างประสิทธิภาพ
          ประสิทธิภาพ หมายถึง การประหยัดทรัพยากร หรือ ค่าใช้จ่าย จึงขอเสนอวิธีลดต้นทุน หรือ ค่าใช้จ่าย ด้วยแนวคิด
           1. การลดต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality) ไม่ว่าองค์การจะทำอะไร ล้วนต้องจ่ายเงิน การผลิตสินค้าสักชิ้น เขียนใบกำกับสินค้าสักฉบับ ซ่อมแซม เครื่องจักรสักหน่อย การบริการงานที่ฉลาดจึงต้องใช้เงินเป็น เลี่ยงการสูญเปล่า กุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ องค์การบรรลุเป้าหมาย คือ ต้นทุนคุณภาพ
                   1.1 ต้นทุนคุณภาพ เป็นเงินต้นทุนที่ทำให้มั่นใจว่า ลูกค้าจะได้รับสินค้า หรือ บริการ คุณภาพสูง ในองค์การ จำนวนมากต้นทุนดำเนินงานส่วนใหญ่ ใช้ในการทำผิดพลาด ซ่อมแซมงาน ทำงานช้า ต้องจ่าย ค่าประกัน จ่ายเงินคืนลูกค้า และความสูญเสียอีกนานาประการ
                   1.2 การวิเคราะห์ต้นทุนคุณภาพ จะช่วยให้เห็นว่า มีต้นทุนสำคัญมากมายซ่อนอยู่ ต้นทุนที่มองเห็นมีอยู่ เช่น ความบกพร่อง การทำช้าการตรวจสอบ ส่วนต้นทุนที่มองไม่เห็นก็มีอีกมาก เช่น ต้นทุนส่งมอบเร่งรีบ เสียเวลา เนื่องจากอุบัติเหตุ ปฏิบัติงานจากขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ต้นทุนการสืบสวนข้อร้องเรียน การเขียนคำสั่ง งานช้า การฝึกอบรมช้า
          2. ลดความสูญเปล่า (Waste Reduction) การทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ล้วนเป็นงานที่ทำแล้วสูญเปล่า ความสูญเปล่าเพิ่มต้นทุน (ค่าใช้จ่าย) ให้แก่ ผลิตผลสุดท้าย คนทำงานรอเครื่องจักรให้เสร็จกระบวนการ เพื่อจะเติมวัตถุดิบเข้าไป ไม่เป็นทางการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม คนเข็นรถจากส่วนหนึ่งของโรงงานไปยังอีกแห่งหนึ่ง เป็นการทำงานเพิ่มมูลค่าหรือไม่ ในเมื่อเขาทำ การเคลื่อนไหวอยู่ การรอ และการขนส่งเป็นตัวอย่าง ของกิจกรรมที่ไม่ก่อมูลค่าเพิ่ม เป็นกิจกรรมที่เป็นความสูญเปล่า อาจแยกความสูญเปล่าเป็น 7 ประเภท ดังนี้
                   2.1 ผลิตมากเกินไป
                   2.2 ผลิตบกพร่อง/แก้ไขงาน
                   2.3 เวลารอคอย/ความล่าช้า
                   2.4 สินค้าคงคลังมาก/งานอยู่ระหว่างผลิต
                   2.5 การขนของ
                   2.6 กระบวนการที่ขาดประสิทธิผล
                   2.7 การเคลื่อนไหว - การกระทำที่ไม่จำเป็น























อ้างอิงจาก :

1 ผศ.ดร. นฤมล สุ่นสวัสดิ์ 2549 , การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน : สำนักพิมพ์วันทิพย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น